การสหกรณ์
Posted: สอ.นาวิกโยธิน จำกัด Date: 2013-11-15 14:31:22
IP: 183.89.119.185
 
 
 
การสหกรณ์ไทย
 
      ความคิดเรื่องการสหกรณ์เกิดขึ้นในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประมาณ พ.ศ. 2457 ในสมัยนั้นประเทศไทยได้เริ่มมีการค้าขายกับ ต่างประเทศมากขึ้น ระบบเศรษฐกิจชนบท เปลี่ยนจากระบบเลี้ยง ตนเองมาเป็นระบบเศรษฐกิจเพื่อการค้า ความต้องการเงินทุนใน การขยายการผลิต และการครองชีพ การกู้ยืมเงินทุนจากนายทุน ท้องถิ่นที่ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง การถูกเอารัดเอาเปรียบ ใน การขายผลผลิต สภาพดินฟ้าไม่อำนวย ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย การเกิดหนี้สินพอกพูน จึงเกิดขึ้นกับเกษตรกรจากสภาพปัญหาความยากจนและหนี้สินดังกล่าวทำให้ทางราชการพยายามหาทางแก้ไข ต่อมารัฐบาลได้เชิญเซอร์เบอร์นาร์ด ฮันเตอร (Sir Benard Hunter) หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราส
 
      ประเทศ อินเดีย เข้ามาสำรวจ หาลู่ทางช่วยเหลือเกษตรกร และได้เสนอว่าควรตั้ง กฐธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติกฑ ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร โดยมีที่ดินและหลักทรัพย์อื่นเป็นประกันเพื่อมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินหลบหนีหนี้สิน พร้อมทั้งแนะนำให้จัดตั้งสมาคม เรียกว่า กฐโคออเปอร์เรทีพ โซไซตี้กฑ (Cooperative Society) เพื่อควบคุมการกู้เงินและการเรียกเก็บเงินกู้ โดยใช้หลักการร่วมมือกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งคำนี้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยว่า กฐสมาคมสหกรณ์กฑ จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเริ่มศึกษาวิธีการสหกรณ์ในปี 2457 แต่ยังมิได้ดำเนินการอย่างไร จนกระทั่งในปี 2458 ได้มีการจัดตั้งกรมสถิติพยากรณ์ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เป็นกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ประกอบด้วยส่วนราชการ 3ส่วนคือการพาณิชย์การสถิติพยากรณ์และการสหกรณ์
 
      การตั้งส่วนราชการสหกรณ์นี้ก็เพื่อจะให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้น และพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ในฐานะอธิบดีกรมพาณิชย์ และสถิติพยากรณ์ขณะนั้น ได้ทรงพิจารณาเลือกแบบอย่าง ของสหกรณ์แบบไรฟ์ไฟเซนของประเทศเยอรมันเป็นตัวอย่างขึ้นในประเทศไทย เนื่องจากมีความเหมาะสม กับภาวะเศรษฐกิจของเกษตรกรไทย ขณะนั้นมากกว่ารูปอื่น และได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์แห่งแรกของ ประเทศไทยขึ้น ณ ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ชื่อว่า กฐสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้กฑ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการเงินกู้แก่สมาชิก โดยจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ.2459 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 มีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ พระองค์แรก สหกรณ์แห่งนี้มีสมาชิกแรกตั้ง จำนวน 16 คน ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท เป็น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเงินทุนซึ่งกู้จากแบงก์สยามกัมมาจล (ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน) เป็นจำนวน 3,000 บาท มีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ค้ำประกัน โดยเสีย ดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี คิดดอกเบี้ยจากสมาชิกในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี กำหนดชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยได้ตามกำหนด และยังมีเหลือพอเก็บไว้เป็นทุนต่อไป
 
      แสดงให้เห็นว่าการนำวิธีการสหกรณ์เข้ามาช่วยแก้ไขความเดือดร้อนของเกษตรกรได้ผล ดังนั้น ทางราชการจึงได้ส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขนาดเล็กในท้องถิ่นต่างๆ ที่ประสบปัญหาอย่างเดียวกัน ต่อมางานสหกรณ์ได้ขยายตัวกว้างขวางขึ้นมีการจดทะเบียนสหกรณ์ อีกหลายสหกรณ์ และการ จัดตั้งสหกรณ์อีกหลายประเภท แต่เป็นสหกรณ์ขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจแบบเอกประสงค์ทั้งสิ้น จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้เต็มที่
 
      ทางรัฐบาลจึงได้ออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 เปิดโอกาสให้สหกรณ์หาทุนขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้าเป็นสหกรณ์ขนาดใหญ่ ทำให้สามารถขยายการดำเนินธุรกิจเป็นแบบเอนกประสงค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก ด้วยเหตุนี้สหกรณ์หาทุน จึงแปรสภาพเป็นสหกรณ์การเกษตร มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี 2516 ได้มีการประกาศ กฎกระทรวงเกษตร และสหกรณ์แบ่งประเภทสหกรณ์ในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 ออกเป็น 6 ประเภท คือ สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้า และสหกรณ์บริการ ซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิก จนทำให้จำนวนสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี การสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น


   
   
 
 

soatsolution โปรแกรมสหกรณ์ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ฯ